สมดุลเคมี

 สมดุลเคมี 

(Chemical Equilibrium)

= สภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป มีอัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงผันกลับ




 การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ 

การเกิดปฏิกิริยาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
    1. ปฏิกิริยาที่เกิดสมบูรณ์   
           ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากันจนหมด เป็นปฏิกิริยาที่ไม่ย้อนกลับ
                
    2. ปฏิกิริยาที่เกิดไม่สมบูรณ์
           ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นทำปฏิกิริยากันได้ผลิตภัณฑ์  และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นทำปฏิกิริยา
    กลับเป็นสารตั้งต้นใหม่ เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้

ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้
       ปฏิกิริยาที่เกิดสารผลิตภัณฑ์ แล้วสารผลิตภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นสารตั้งต้นได้อีก 
มี 2 ปฏิกิริยาย่อย คือ
  • ปฏิกิริยาไปข้างหน้า  คือ  ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์
  • ปฏิกิริยาย้อนกลับ   คือ  ปฏิกิริยาที่สารผลิตภัณฑ์เปลี่ยนกลับเป็นสารตั้งต้น

ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้เขียนแทนด้วย ⇋

 A  ⇋  B 

การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดสมดุลเคมี  แบ่งเป็น 3 ประเภท
           1. การเปลี่ยนสถานะ      เช่น  การกลายเป็นไอของน้ำในภาชนะปิด
 H2O(l)  ⇌    H2O(g) 

           2. การเกิดสารละลาย     เช่น  การละลายของเกลือ NaCl ในน้ำ ได้สารละลาย เมื่อให้ความร้อนจะเกิดเป็นสารละลายอิ่มตัว เมื่ออุณหภูมิลดลงจะเกิดการตกผลึกของเกลือ NaCl กลับมา
NaCl (s)  +  H2O   ⇌      Na+(aq)   +  Cl- (aq)

           3. การเกิดปฏิกิริยาเคมี  การเกิดปฏิกิริยาบางปฏิกิริยาสามารถผันกลับได้และเกิดสมดุลเคมี  



-----------------------------------------------------------------------------------------------------


 การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดภาวะสมดุล 

ภาวะสมดุล

       เกิดเมื่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ ที่สมดุลจะมีสารตั้งต้นทุกชนิดเหลืออยู่ และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นทุกชนิดคงที่ ถ้าในระบบยังคงมีการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และปฏิกิริยาย้อนกลับอยู่ตลอดเวลา โดยเกิดในอัตราที่เท่ากัน เรียกว่า สมดุลไดนามิก 

 คุณสมบัติของสมดุลเคมี   :
  1. เกิดในระบบปิด
  2. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
  3. อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ
  4. ในระบบต้องมีสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เหลืออยู่ 
  5. สมบัติของระบบคงที่

กราฟแสดงการเกิดภาวะสมดุล

        1. กราฟระหว่างความเข้มข้นกับเวลา
 ภาวะสมดุลที่เวลา t1 ความเข้มข้นของสาร A มากกว่าความเข้มข้นของสาร B
[สารตั้งต้น] ﹥ [ผลิตภัณฑ์]

 ภาวะสมดุลที่เวลา t1 ความเข้มข้นของสาร A น้อยกว่าความเข้มข้นของสาร B
[สารตั้งต้น] ﹤ [ผลิตภัณฑ์]

 ภาวะสมดุลที่เวลา t1 ความเข้มข้นของสาร A เท่ากับความเข้มข้นของสาร B
[สารตั้งต้น] = [ผลิตภัณฑ์]


    2. กราฟระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับเวลา
     เมื่อ X2 ทำปฏิกิริยากับ Y2 จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ผลิตภัณฑ์เป็น XY2 ซึ่งเมื่อเขียนกราฟอัตราการเกิดปฏิกิริยาของปฏิกิริยาไปข้างหน้าและปฏิกิริยาย้อนกลับ จะพบว่ากราฟทั้งสองเส้นจะมาทับกันที่เวลา t2  แสดงว่า อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ



-----------------------------------------------------------------------------------------------------


 ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารต่างๆ ณ ภาวะสมดุล 

ค่าคงที่ของสมดุล

    คือ ผลคูณความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ ยกกำลังด้วย เลขบอกจำนวนโมลสารผลิตภัณฑ์ หารด้วย ผลคูณความเข้มข้นของสารตั้งต้น ยกกำลังด้วย เลขบอกจำนวนโมลสารตั้งต้น มีสัญลักษณ์เป็น K      
ถ้าปฏิกิริยาคือ  aA + bB ⇌ cC + d  จะได้ค่าคงที่สมดุล ดังนี้


** ถ้าในปฏิกิริยามีสารที่เป็น ของแข็งหรือของเหลวบริสุทธิ์  ไม่ต้องนำความเข้มข้นของสารนั้นมาคำนวณในการหาค่า K **

ตัวอย่าง     CaCO3(s)  ⇋  CaO(s) + CO2 (g)   

               จะได้ค่าคงที่สมดุลคือ     K  =  [CO2] 


ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี

1. ถ้านำสมการเคมีมาเขียนกลับกันกับสมการเดิม ค่า K ก็จะเป็นส่วนกลับของค่าเดิม 


2. เมื่อนำเลขมาคูณในสมการ ค่า K ใหม่จะเท่ากับค่า K เดิมยกกำลังด้วยเลขนั้น


3. ค่า K ที่เกิดจากการนำปฏิกิริยาย่อยมารวมกัน จะมีค่าเท่ากับผลคูณของค่า K ของปฏิกิริยาย่อยเหล่านั้น



4. ถ้ามีการนำเลขมาหารในสมการ ค่า K ใหม่จะเท่ากับค่า K เดิมถอดรากที่เท่ากับตัวเลขที่นำมาหารนั้น


การหาค่าคงที่สมดุล
  1. เขียนสมการเคมีและดุลสมการเคมี
  2. หาความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์และสารตั้งต้นที่ภาวะสมดุล
  3. เขียนค่า K จากสมการที่ได้ และแทนค่าความเข้มข้นของสารที่หาได้ลงในสมการ

ตัวอย่าง   

แก๊สไนโตรซิลคลอไรด์ (NOCl) 2.5 mol ในภาชนะ 1.5 L สลายตัวที่ 400 ºC ได้ดังสมการ 
 2NOCl ⇋  2NO + Cl₂  
หลังจากเข้าสู่ภาวะสมดุล พบว่าแก๊สไนโตรซิลคลอไรด์สลายตัว 28% จงหาค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยานี้

             

                        
-----------------------------------------------------------------------------------------------------


 ผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ความดัน และอุณหภูมิ 

การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น

        การเพิ่มหรือลดความเข้มข้น จะทำให้ระบบเสียภาวะสมดุล ระบบจะต้องมีการปรับตัวให้กลับสู่สภาวะสมดุลใหม่เสมอ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นมีผลต่อภาวะสมดุลของระบบ แต่ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล 
  • ถ้าเพิ่มความเข้มข้น ระบบจะปรับตัวโดยลดความเข้มข้นสารที่เติมลงไป  (สมดุลเลื่อนไปฝั่งตรงข้ามที่เติมสาร)
  • ถ้าลดความเข้มข้น  ระบบจะปรับตัวโดยเพิ่มความเข้มข้นของสารนั้น (สมดุลเลื่อนไปฝั่งที่ลดสาร)

ตัวอย่า       

 CH (g)  +  2HS(g)    ⇋   CS(g)  +  4H(g) 

เพิ่มความเข้มข้น  CH₄     :   สมดุลเลื่อนไปทางขวา   [CH2]  ,  [H2S]↓  , [CS2] ,  [H2]
ลดความเข้มข้น   CH₄     :   สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย   [CH2]  ,  [H2S]↑  , [CS2] ,  [H2]
เพิ่มความเข้มข้น  CS₂     :   สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย   [CH2]  ,  [H2S]  , [CS2] ,  [H2]
เพิ่มความเข้มข้น  CS₂     :   สมดุลเลื่อนไปทางขวา   [CH2]  ,  [H2S]↓  , [CS2] ,  [H2]


การเปลี่ยนแปลงความดัน
           มีผลในระบบที่มีก๊าซเป็นองค์ประกอบ  ไม่มีผลต่อค่าคงที่สมดุล การเปลี่ยนแปลงความดันมีผลต่อภาวะสมดุลของระบบ ดังนี้
  • เพิ่มความดัน  สมดุลจะเลื่อนไปในทางที่มีโมลรวมแก๊สน้อย
  • ลดความดัน   สมดุลจะเลื่อนไปทางที่มีโมลรวมแก๊สมาก
**ถ้าโมลรวมแก๊สเท่ากันทั้งสองฝั่ง ความดันไม่มีผล**

ตัวอย่าง     

NO(g)  +  NO2(g)     N2O3(g)   

เพิ่มความดัน (ลด V )  :  สมดุลเลื่อนไปทางขวา
ลดความดัน  (เพิ่ม V)  :  สมดุลเลื่อนไปทางซ้าย


การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
        เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในระบบ ส่งผลให้ระบบปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ และทำให้ค่าคงที่สมดุลเปลี่ยนไปด้วย 

ปฏิกิริยาคายความร้อน

 ⇋  B + 2.5 KJ    หรือ   ⇋  B  ΔH = -2.5 KJ 

  • เพิ่มอุณหภูมิ  สารตั้งต้นเพิ่มขึ้น   ผลิตภัณฑ์ลดลง  ค่า K ลดลง
  • ลดอุณหภูมิ   สารตั้งต้นลดลง  ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น   ค่า K เพิ่มขึ้น

ปฏิกิริยาดูดความร้อน
 A + 2.5 KJ  ⇋  B    หรือ   ⇋  B  ΔH = +2.5 KJ 
  • เพิ่มอุณหภูมิ  สารตั้งต้นลดลง   ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น  ค่า K เพิ่มขึ้น
  • ลดอุณหภูมิ   สารตั้งต้นเพิ่มขึ้น  ผลิตภัณฑ์ลดลง   ค่า K ลดลง


                 
 



          
                                    



ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม