การลำเลียงอาหาร

 การลำเลียงอาหารของพืช 

 Phloem
     →   ท่อลำเลียงที่พืชใช้ในการลำเลียงอาหาร


 โฟลเอมประกอบไปด้วยเซลล์ 4 ประเภท  ได้แก่

        1. ซีฟทิวบ์ (Sieve Tube)
                เป็นเซลล์ที่มีลักษณะยาวและเชื่อมต่อกัน ทำหน้าที่ในการขนส่งสารอินทรีย์ในต้นพืช บริเวณปลายที่เชื่อมต่อกันมีแผ่นบางๆ กั้น แต่แผ่นนั้นมีรูพรุน เซลล์ชนิดนี้มีชีวิต และเมื่อเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่มีนิวเคลียส

        2. คอมพาเนียนเซลล์ (Companion Cells) 
                เป็นเซลล์ที่ประกบข้างซีฟทิวบ์ทำหน้าที่ช่วยขนส่งสารอินทรีย์

        3. โฟลเอม ไฟเบอร์ (Phloem Fibre)
                เป็นโครงสร้างค้ำจุนท่อลำเลียงสารอินทรีย์ให้แข็งแรง

        4.
โฟลเอมพาแรงไคมา (Phloem parenchyma) 
                ช่วยในการลำเลียงสารอินทรีย์และเก็บสะสมสารอินทรีย์ไว้ในรูปแป้ง โปรตีน และไขมัน


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



        อาหารที่พืชสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ น้ำตาลกลูโคส จะถูกลำเลียงผ่านโฟลเอ็มไปยังส่วนต่างๆของพืช  
        

ทิศทางการลำเลียงของพืช 

            พืชสามารถลำเลียงอาหารได้ทั้ง 2 ทิศทาง คือ การลำเลียงขึ้นสู่ยอด และการลำเลียงลงสู่ราก โดยพืชจะลำเลียงอาหารผ่านทางซีฟทิวบ์ของโฟลเอ็ม  
        พืชจะลำเลียงจากแหล่งที่มีการสร้างอาหาร เรียกว่า "แหล่งสร้าง" ไปยังบริเวณที่สร้างอาหารได้น้อย ไม่มีการสร้างเลย หรือบริเวณที่ต้องเก็บสะสมอาหาร เรียกว่า "แหล่งรับ"

        - แหล่งสร้าง → ใบ หรือบริเวณที่พืชสารมารถสร้างอาหารได้

        - แหล่งรับ → ราก ยอด ลำต้น ผล

ภาพจาก : clipartmax.com



กลไกการลำเลียงอาหารของพืช

        น้ำตาลกลูโคสที่พืชสร้างขึ้นจะถูกลำเลียงออกมาในไซโทพลาสซึม แล้วเปลี่ยนเป็น น้ำตาลซูโครส  ซูโครสจะเคลื่อนย้ายจากแหล่งสร้างไปยังซีฟทิวบ์ของโฟลเอ็ม โดยการลำเลียงแบบใช้พลังงาน หรือ Active transport และลำเลียงไปยังส่วนต่างๆของพืช


การลำเลียงอาหารในโฟลเอ็ม "อาศัยความแตกต่างของความดันในซีฟทิวบ์ระหว่างแหล่งสร้าง และแหล่งรับ"  ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของสารในโฟลเอ็ม  



ซูโครสจากแหล่งสร้าง แพร่เข้าสู่ซีฟทิวบ์ของโฟลเอ็ม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในซีฟทิวบ์สูงขึ้น จากนั้นน้ำจากเซลล์ข้างเคียงออสโมซิสเข้ามายังซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งสร้าง ทำให้มีความดันเพิ่มขึ้น
ความดันในซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งสร้างที่สูงขึ้น  ทำให้สารละลายเคลื่อนที่ไปยังซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งรับที่มีความดันต่ำกว่า
ซูโครสก็จะลำเลียงออกจากซีฟทิวบ์ ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆบริเวณแหล่งรับ ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายในซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งรับลดลง
น้ำจากซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งรับก็จะออสโมซิสออกสู่เซลล์ข้างเคียง ทำให้ซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งรับมีความดันต่ำกว่าซีฟทิวบ์บริเวณแหล่งสร้าง  ซึ่งความแตกต่างของความดันนี้ ทำให้การลำเลียงอาหารในโฟลเอ็มยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง










 แหล่งที่มา 


                      

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม